แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศัลยกรรมปากเเหว่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศัลยกรรมปากเเหว่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปากแหว่งเพดานโหว่คืออะไร?


ปากแหว่ง คือ อาการที่ริมฝีปากบนแยกออกจากกัน เป็นอาการที่พบกับทารก 1 คนใน 700 คนในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับเพดานโหว่ อาการปากแหว่งเกิดจากการที่สองซีกของใบหน้าไม่สามารถประกบกันได้พอดีในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ แม้ว่าจะไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุที่แน่นอน แต่อาการปากแหว่งเพดานโหว่มักจะมาจากพันธุกรรม นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ การขาดสารอาหาร และการใช้ยาบางชนิด
เพดานโหว่ คือ การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารกไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง อาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรงกว่าอาการปากแหว่ง แม้ว่าทั้งสองอาการสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด
ปัญหาในการรับประทานอาหาร การหายใจ การพูด และปัญหาทางจิตใจ เป็นสิ่งที่เด็กที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่จะต้องเผชิญ เพื่อแก้ไขอาการเหล่านี้ คุณต้องปรึกษาทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง ศัลยแพทย์ช่องปาก ตลอดจนแพทย์ทางหู คอ จมูก ทันตแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟัน
เราจะทราบได้อย่างไรว่าทารกมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ 
แพทย์ผู้ทำคลอดอาจจะสามารถบอกได้ทันทีว่าทารกมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ อาการปากแหว่งสามารถมองเห็นได้ง่ายกว่า ในขณะที่อาการเพดานโหว่จะมีความหลากหลายในด้านขนาดตั้งแต่รอยแยกเล็กๆ จนกระทั่งรูใหญ่ในเพดานปาก และเด่นชัดขึ้นหลังเกิดในกรณีที่ไม่เห็นชัดในทันที น้ำและอาหารจะไหลทางจมูกสำหรับทารกที่มีอาการเพดานโหว่ ซึ่งสามารถปัญหาโดยการใช้ขวดนมพิเศษและการดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าเด็กจะโตพอที่จะรับการผ่าตัด
อาการปากแหว่งเพดานโหว่สามารถรักษาได้อย่างไร 
การผ่าตัดเพื่อปิดปากแหว่งมีความง่ายกว่าการรักษาเพดานโหว่ กระบวนการรักษามักจะเกิดขึ้นภายใน 3-4 เดือนหลังจากเกิด และบาดแผลมักจะจางไปเมื่อเด็กโตขึ้น
สำหรับอาการเพดานโหว่ การผ่าตัดมักจะต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 1-2 ปี เมื่อขากรรไกรบนโตเต็มที่ ถ้ามีอาการรุนแรงมาก การผ่าตัดอาจต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 5-7 ปีเพื่อป้องกันปัญหาทางโครงสร้าง ในบางกรณี การผ่าตัดอาจไม่สามารถปิดรอยโหว่ได้สนิท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ฟันเทียมทั้งปากเพื่อปิดรอยแยกและทำให้สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
การผ่าตัดหลายครั้งอาจมีความจำเป็นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเพดานโหว่ ศัลยกรรมพลาสติกและช่องปากจะเป็นผู้ทำการผ่าตัดส่วนหน้า ส่วนทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์จัดฟัน และ/หรือแพทย์ทางหู คอ จมูก จะทำเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง
ทีมดูแลสุขภาพจะช่วยให้คำแนะนำตลอดจนให้กำลังใจในช่วงเวลานับตั้งแต่แรกเกิดจนเข้ารับการรักษา ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องที่ทันสมัยทำให้อนาคตของเด็กที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ดีขึ้น และเมื่อเด็กโตขึ้น ลักษณะของอาการก็จะน้อยลงไปเอง

ที่มา: colgate